วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้ในสวนบ้านฉัน



                                                                           ชวนชม



                 ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำ้ยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้

                                                                           
                                                                            บานบุรี



บานบุรีเป็นไม้เลื้อยที่มีการผลัดใบโดยธรรมชาติ ต้นของบานบุรีจะเลื้อยพาดไปตามรั้ว หลัก หรือต้นไม้อื่น
                หากไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่ม เถาบานบุรีเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ส่วนบริเวณยอดเถาจะเป็นสีเขียว และจะมี
                ยางสีขาวขุ่นอยู่ในทุกส่วนของต้นบานบุรี ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเถา หรือส่วนของใบก็ตาม

           ใบจะแตกออกบริเวณข้อของลำต้นหรือขอของเพา ข้อหนึ่ง ๆ จะมีใบออกประมาณ 3-6 ใบ และใบจะออก
               ตรงข้ามกัน ตัวใบสีเขียวเข้ม ผิวใบมัน ปลายใบแหลม ก้านใบสั้น

       
บานบุรีจะออกดอกตรงส่วนยอด ดอกเป็นรูปแตร มีก้านดอกสั้นและจะมีกลีบเลี้ยงเป็นริ้วสีเขียวติดอยู่โคน
               ดอก ดอกจะเป็นสีเหลืองมีกลีบดอก 5 กลีบ


                                                                            ม่วงส่าหรี


ม่วงส่าหรี จากลักษณะดอกตั้งแต่ ดอกตูมไปจนถึงดอกที่บานแล้ว จะดูเหมือนดอก ยี่เข่ง ผสมกับดอก ตะแบกดอกม่วง แต่สีของดอกจะเข้มกว่าเยอะ และกลีบดอกละเอียดหนาแน่นกว่าด้วย ส่วนใบ ของ "ม่วงส่าหรี" มีลักษณะคล้ายใบของต้น อินทนิลน้ำ ที่สุด ไม่เหมือนใบของตะแบก หรือใบของยี่เข่งอย่างชัดเจน ลำต้นและกิ่งก้านก็เป็นแบบเฉพาะตัว ไม่เหมือนลำต้นทั้งของยี่เข่ง อินทนิลน้ำ และตะแบกเลย จึงแยกไม่ออกว่าเป็นไม้ในวงศ์ไหน

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 3.5-4 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเกือบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ดูเหมือน ใบอินทนิลน้ำ เป็นสีเขียวสด เวลามีใบดกจะเป็นพุ่มหนาแน่นให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อแน่นขนาดใหญ่ ที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกคล้ายกับดอกยี่เข่ง และดอกตะแบกมาก สีของดอกเป็นสีม่วงเข้ม หรือ สีน้ำเงินเข้ม เวลามีดอกจะดกเต็มต้น ดอกบานพร้อมกัน

ชบา


ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย


ลั่นทมหรือลีลาวดี


ลั่นทม เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อัมผวา จ.สมุทรสงคราม

อัมพวา


ตลาดน้ำ อัมพวา

ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
     ตลาดน้ำอัมพวา นับว่าเป็นจุดที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์อีกแห่งหนึ่งในอำเภอ อัมพวา เป็นสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ การเที่ยวตลาดน้ำอัมพวานั้น สามารถทำได้ทั้งยามเช้าและยามเย็น ซึ่งจะให้บรรยาการที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศนิยมที่จะมาพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์ แนะนำ บ้านอัมพวา รีสอร์ท
ในอดีตเมืองอัมพวาถือว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม มีตลาดน้ำขนาดใหญ่และชุมชนริมน้ำที่เป็นศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรม แต่ผลกระทบของการพัฒนาการคมนาคมทางบก ทำให้ความเป็นศูนย์กลางฯ ของอัมพวาต้องสูญเสียไป ตลาดน้ำค่อยๆลดความสำคัญและสูญหายไปในที่สุด ทิ้งไว้แต่ร่องรอยของความเจริญในอดีตซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจนในทุกวันนี้
         ทางเทศบาลตำบลอัมพวา โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในท้องถิ่น ได้ฟื้นฟูตลาดน้ำอัมพวาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุรักษ์ความเป็นอยู่ของชุมชนริมน้ำ ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูได้ยาก ให้สืบทอดตลอดไป โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดน้ำยามเย็น"



ตลาดน้ำยามเย็น


ตลาดน้ำโดยทั่วไปมักจะจัดขึ้นในเวลากลางวัน แต่ตลาดน้ำยามเย็น ที่อัมพวาแห่งนี้ จะจัดขึ้นในช่วงงเวลาเย็นเรื่อยไปจนถึงเวลาพลบค่ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตลาดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดในลักษณะเช่นนี้ ในตอนเย็นชาวบ้านจะเริ่มทยอยพายเรือนำสินค้าหลากหลายนานาชนิด อาทิ อาหาร ผลไม้ พืชผัก ขนม ของกินของใช้ มาขายให้กับนักท่องเที่ยว หรือคนในท้องถิ่นที่สัญจรไปมาที่ตลาดอัมพวา ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติของชีวิตของชุมชนริมน้ำ ซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถที่จะหาซื้ออาหารมานั่งรับประทาน บริเวณริมคลองอัมพวาติดกับตลาดน้ำ ซึ่งได้มีการจัดสถานที่ไว้ ทำให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

  การล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่นักท่องเที่ยวที่มาพักมาเที่ยวสมุทรสงครามมักไม่พลาดที่จะไปชม โดยปกติแล้วหิ่งห้อยจะมีมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -  ตุลาคม ควรเลือกชมในช่วงเวลาที่เป็นข้างแรมหรือคืนเดือนมืด เพราะเห็นแสงของหิ่งห้อยได้ชัดเจนกว่าเวลาข้างขึ้น นอกจากนี้ควรเลือกช่วงเวลาที่น้ำขึ้นมากเนื่องจากจังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเลน้ำจะขึ้น-ลง อยู่ตลอดเวลา ในช่วงน้ำขึ้นเรือสามารถเข้าไปใกล้กับต้นลำพูซึ่งหิ่งห้อยเกาะอยู่  ทำให้สามารถเห็นแสงของหิ่งห้อยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 
           นักท่องเที่ยวที่มีความประสงค์จะนั่งเรือชมหิ่งห้อยประกายความงามยามค่ำคืน สามารถติดด่อเรือได้  ซึ่งทางชุมชนตลาดอัมพวาได้จัดบริการไว้ให้ที่ตลาดน้ำอัมพวา หรือจะติดต่อกับที่พักหรือโฮมสเตย์ต่าง ๆ ในอัมพวาก็ได้ โดยเรือจะล่องไปตามลำน้ำแม่กลองหรือคลองย่อยต่าง ๆ ที่มีต้นลำพูริมฝั่ง  ก่อนเช่าเรือ นักท่องเที่ยวควรตรวจสอบระยะทางการล่องเรือชมหิ่งห้อยกับผู้ให้บริการเสียก่อน  เรือจะวิ่งไปตามแม่น้ำและลำคลองที่มืดหิ่งห้อยจะมีอยู่เป็นจุดๆในบริเวณที่แตกต่างกัน  ถ้าหากผู้ให้บริการไม่มีความชำนาญในเส้นทางและรู้แหล่งที่อยู่หรือให้บริการในเส้นทางที่สั้นเกินไปย่อมทำให้นักท่องเที่ยวเห็นหิ่งห้อยได้น้อย   และควรใส่ชูชีพตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย
          สำหรับข้อปฎิบัติในการชมหิ่งห้อย คือ ไม่ควรส่งเสียงดัง และไม่จับหรือทำสิ่งใดที่รบกวนหิ่งห้อยโดยเด็ดขาด เพื่อให้ธรรมชาติถูกรบกวนน้อยที่สุดและมีหิ่งห้อยให้ชมไปนาน ๆ


ที่มา : http://www.moohin.com/003/

ล่องเรือชมหิ่งห้อย